สวัสดีชาวโลก – -‘

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | 1 ความเห็น

รักกันไม่จำเป็นต้อง

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง… อดข้าว ..อดน้ำ ..
เพื่อเก็บเงิน..ไว้จ่ายค่าโทรศัพท์..ทั้งเดือน

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง…บอกเลิกนัดกับ .."เพื่อน"
แล้วไปเที่ยวกับ.."แฟน"

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง…ซื้อของแพงๆให้
เงิน..ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า..
รักจริง

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง…ดูหนัง..ทุกเย็นวันศุกร์
นั่งสบตา..ที่แมคโดนัลด์..ทุกบ่ายวันเสาร์
โทรบอกว่า.."คิดถึง" ..ทุก 5 นาที..ตลอดเช้าวันอาทิตย์

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง… พยายาม..ลงทุนมากมาย
แลกเทปกันฟัง .. ตั้งโปรแกรมดูหนัง..สักเดือนละเรื่อง..ก็ได้
พากันไปกิน..เพื่ออิ่ม ..ไม่ใช่กิน..เพื่อให้ดูรวย

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง… ถวายให้..ทั้งตัว
อย่าไปกลัวว่า..ถ้าไม่ยอมเปลืองตัว ..แล้ว
รัก..จะหมดไป
เพราะ..ถ้าเขา
รักจริง ก็ควรให้เกียรติ ..ไม่ใช่จ้องจะ..เอาเปรียบ

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง…เอาดวงชะตา..ไปให้หมอดู
จ่ายเป็นร้อย เพียงแค่อยากรู้ว่า..เป็นเนื้อคู่กันหรือเปล่า

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง…ตามติดแจ
ผูกขาเขาไว้..กับขาเรา
ผูกมือเขาไว้..กับมือเรา
ทำไมต้องทำเหมือน..ขาดเขาไปแล้ว..เราจะตาย .
จำไว้ว่า..คนทุกคน..มีหัวใจ..คนละดวง

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง…เป็นเงา..ตลอดเวลา
ไม่ต้องทุ่มเท..ทำเพื่อ "ความฝัน" ของเขา
จนชีวิตตัวเอง..ว่างเปล่า หลงลืม.."ความฝัน" ..ของตัวเอง

รักกัน..ไม่จำเป็นต้อง…มีเวลาเท่าไหร่..ก็ให้ทั้งหมด
จนไม่เหลือเวลา..สำหรับทำ "สิ่งดีดี" ..ให้ครอบครัว
ไม่เหลือเวลา..กลับบ้านเร็วๆ..ให้แม่ชื่นใจ
หลับตา..ลืมตา..ก็เห็นแต่หน้า.. "แฟน"

ขอขอบคุณ: http://variety.teenee.com/foodforbrain/23199.html

 

โพสท์ใน เรื่องจริงของชีวิต | ใส่ความเห็น

อย่ากึ๊ดนัก – แคท รัตกาล

โพสท์ใน เพลง | ใส่ความเห็น

[MV]อย่าปล่อยให้คนคนหนึ่งคิดถึงเธอ – เต้น นรารักษ์

โพสท์ใน เพลง | 1 ความเห็น

[MV]โปรดส่งใครมารักฉันที – Instinct Ost.รถไฟฟ้า…มาหานะเธอ

โพสท์ใน เพลง | ใส่ความเห็น

[MV]ความอดทนของคนที่รอ – ชาช่า

โพสท์ใน เพลง | ใส่ความเห็น

[MV]หลอกฝัน – เคลิ้ม

โพสท์ใน องค์กร | ใส่ความเห็น

แค่เสียใจไม่พอ

"แค่เสียใจไม่พอ"
ต้นฉบับร้องโดย พี่แอม เสาวลักษณ์

วันที่เธอเดินไปจากฉัน
อาจเป็นเหมือนวันแห่งความช้ำใจ
แต่ที่ทำให้ใจต้องช้ำ เกินไป
คือวันนี้ ที่เธอกลับมา
คำเสียใจที่มีให้ฉัน นั่นมันยิ่งทำให้มีน้ำตา
ตัวฉันเองเหมือนคนที่ไร้ราคา
จะมีค่าแค่คำว่าเสียใจ
บอกฉันซ้ำซ้ำ ว่าเธอเสียใจ
แต่ไยวันนั้น ไม่คิดบ้าง
เมื่อเธอแปรผัน เมื่อรักจืดจาง
ฉันจะช้ำใจอย่างไร
เอ่ยซักคำที่ดีกว่านี้ สักคำที่ดีกว่าคำเสียใจ
คำที่ทำให้เราจบสิ้น กันไป

จากวันนี้ จนตายก็พอ

บอกฉันซ้ำซ้ำ ว่าเธอเสียใจ
แต่ไยวันนั้นไม่คิดบ้าง
เมื่อเธอแปรผัน เมื่อรักจืดจาง
ฉันจะช้ำใจอย่างไร
เอ่ยซักคำที่ดีกว่านี้ สักคำที่ดีกว่าคำเสียใจ
คำที่ทำให้เราจบสิ้น กันไป
จากวันนี้ จนตาย ก็พอ
คำที่ทำให้เราจบสิ้น กันไป
จากวันนี้ จนตาย ก็พอ…

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

อำมาตยาธิปไตยมีหรือ?

โดย ว.ร.ฤทธาคนี

    10 กันยายน 2552 15:20 น.

ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ในนิตยสารรายปักษ์ “Vote” ฉบับปักษ์แรกกันยายน 2552 ในคอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษชื่อบทความ “ธงของเรา คือ ล้มอำมาตยาธิปไตย ไม่ใช่ล้มสถาบัน”
       
        พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ปัจจุบันเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย โดยเริ่มมีชีวิตการเมืองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ สมัยที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ชนะการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์แพ้อย่างเฉียวเฉียด และในครั้งนั้นมีผู้สันทัดกรณีได้เปรียบเทียบไว้ว่า พรรคความหวังใหม่ใช้ม่านสีม่วงปิดกั้นไว้ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนนทบุรี หรือมีความหมายว่า จะเอาชนะพรรคความหวังใหม่ในจังหวัดนนทบุรี ต้องแหวกม่านสีม่วงอันเป็นสีของธนบัตรใบละ 500 บาทนั่นเอง
       
        พ.อ.อภิวันท์ เคยเป็นคนสนิทของนายเสนาะ เทียนทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย และหลังจากนั้นนายเสนาะ ถูกหักหลังและถูกบีบด้วยการถูกลดอำนาจลงในพรรคไทยรักไทย พร้อมๆ กับ ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ก็ถูกหักหลังและถูกขจัดออกจากศูนย์อำนาจของพรรค แม้กระทั่งเมื่อถูกปรับตำแหน่งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี ยังไม่สามารถนั่งทำงานในตึกไทยคู่ฟ้าได้ ต้องมาทำงานในตึกบัญชาการ 3 ในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นตึกเก่ามากเป็นที่ทำงานของข้าราชการระดับผู้อำนวยการ และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่ไม่มีเงินเดือน แต่พ.อ.อภิวันท์ มิได้ติดตามนายเสนาะ กลับเข้าสวามิภักดิ์กับกลุ่มคนสนิทของทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
       
        แต่ไม่ทราบว่าอดีตของ พ.อ.อภิวันท์ กับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นอย่างไร มีความบาดหมางมาอย่างไร หรือพ.อ.อภิวันท์ถูกขัดใจอะไรจึงจงเกลียดจงชัง พล.อ.เปรม ถึงขนาดเข้าร่วมเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ และเป็น 1 ใน 9 คนที่ถูกจับกุมจากการไปชุมนุมและปราศรัยกล่าวร้ายที่หน้าบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 และยังเป็นคนที่เรียกบ้านสี่เสาเทเวศร์ว่า “วิมานสีม่วง” ทั้งต่อมาเคยประณาม พล.อ.เปรม ว่าเป็นตุ๊ดที่จังหวัดนนทบุรี
       
        และหากวิเคราะห์ในเชิงพฤติกรรมมนุษย์โดยทั่วไปแล้ว อาจจะต้องตั้งคำถามว่า “พล.อ.เปรม ไปขัดใจอะไรให้ พ.อ.อภิวันท์ หรือไปขัดขวางผลประโยชน์อะไรของ พ.อ.อภิวันท์ จึงมีความเคียดแค้นเป็นส่วนตัว” เพราะการว่ากล่าวนินทาเรื่องส่วนตัว มักจะเป็นความขัดแย้งส่วนตัว มีความลำเอียงเป็นส่วนตัว หรือมีความเกลียดชังเป็นส่วนตัว เพราะพฤติกรรมอะไรที่พิสูจน์ไม่ได้ทั้งพฤติกรรมและนิติกรรมนั้น สาธารณชนปัญญาชนย่อมไม่รับฟัง หาก พ.อ.อภิวันท์ มีข้อมูลจริงตามที่กล่าวร้ายท่านก็ต้องสามารถชี้แจงให้สาธารณชนได้รับรู้ เพราะพล.อ.เปรม ก็เป็นบุคคลสาธารณชนด้วยเช่นกันกับพ.อ.อภิวันท์
       
        เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้วในหลายวงการการเมืองในต่างประเทศ เช่น อดีตหัวหน้าพรรคเสรีนิยมในอังกฤษถูกกล่าวหาว่าเป็นรักร่วมเพศ เมื่อพิสูจน์ได้ก็ยอมลาออก หรือความขัดแย้งของนายกรัฐมนตรีกับรองนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียที่มีการใช้หลักศาสนาและกฎหมายจนนำสู่ขบวนการฟ้องร้องในศาลแบบจบยาก
       
        แต่ประเด็นสำคัญจริงๆ ของคำให้สัมภาษณ์ พ.อ.อภิวันท์ นั้นคือ การล้มอำมาตยาธิปไตย จึงเกิดคำถามว่า บ้านเมืองเรามีหรือระบอบอำมาตยาธิปไตยที่มีอำนาจบริหารปกครองประเทศในขณะนี้หรือ หากเป็นยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือจอมพลถนอม กิตติขจร แล้วจะไม่ขอพูดเลย แต่ปัจจุบันการปกครองประเทศเกิดจากระบอบประชาธิปไตย ที่มาจากการเลือกตั้งหรือสรรหาจากบรรทัดฐานประชาธิปไตยแต่มีข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำเป็นเพียงกลไกของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายพระราชบัญญัติต่างๆ พระราชกฤษฎีกาต่างๆ หรือกฎกระทรวงต่างๆ รวมทั้งอยู่ในกรอบนโยบายของรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง หรือทางอ้อมโดยเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ
       
        อำมาตยาธิปไตยตามนัยของ เฟรด ดับเบิลยู ริกส์ (Fred W. Riggs) ที่ได้เขียนวิเคราะห์เกี่ยวกับการเมืองไทยเรื่อง The Modernization of a Bureaucratic Policy ใน ค.ศ. 1966 หรือ พ.ศ. 2509 อันเป็นยุคเผด็จการทหารโดยตรงที่ข้าราชการเป็นใหญ่และบริหารประเทศอย่างแท้จริง จึงเป็นเรื่องที่คนอเมริกันเขียนวิเคราะห์การเมืองไทย แต่หากจะเปรียบเทียบอำมาตยาธิปไตยให้ตรงกับความหมายในการปกครองแบบไทย น่าจะมีลักษณะการปกครองแบบเจ้าขุนมูลนาย
       
        เจ้าขุนมูลนายอันหมายถึง เจ้านายคือ เชื้อพระวงศ์กับข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ ซึ่งก่อนปี 2475 นั้น การปกครองของไทยมีลักษณะเป็นเจ้าขุนมูลนายที่ปกครองประเทศจริงเพราะยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเกิดเป็นระบบอุปถัมภ์ในระบบสังคมศักดินา หรือระบบกษัตริย์ผนวกกับเจ้าขุนมูลนาย คือ สามัญชน ทาส มักมีสังกัด
       
        ปัจจุบันนี้ระบบนี้ไม่มีในสังคมไทยแล้ว เพราะคนทั่วไปไม่มีสังกัดในกลุ่มเจ้านายหรือกลุ่มขุนนางเช่นในอดีต แต่ที่แน่ชัดคือ สังกัดนักการเมืองว่าอยู่ในมุ้งใครต่างหาก
       
        ลักษณะของพระราชวงศ์ก็จำกัดอยู่ในเพียงกลุ่มข้าราชการส่วนพระองค์ที่รับใช้สนองพระเดชพระคุณเป็นส่วนร่วมเท่านั้น อาจจะแยกว่าเป็นวังใครก็ได้เพราะเป็นเรื่องส่วนพระองค์อันเกิดจากความสนิทชิดเชื้อของแต่ละพระองค์และมิได้มีลักษณะอุปถัมภ์เช่นในอดีต แต่เป็นลักษณะสังคมมนุษย์ที่มีความผูกพันกันเป็นเรื่องปกติธรรมดาเหมือนสังคมทั่วไป
       
        แต่พ.อ.อภิวันท์มุ่งเน้นที่ พล.อ.เปรม ว่า เป็นเจ้าของระบบอำมาตยาธิปไตย ทั้งๆ ที่พล.อ.เปรม ไม่มีอำนาจหน้าที่อะไรในระบบราชการไทยเลยแม้แต่น้อย และคำพูดของ พ.อ.อภิวันท์ที่ว่า “ผมพูดกับน้องๆ ทหารว่า อย่าให้ความกลัวในตัวขันทีมาบดบังความจงรักภักดี การที่เราจะรักษาสถาบันไว้ได้ ประเทศไทยต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ถ้าตราบใดอำมาตย์ยังชี้นำทางการเมืองรับรองบ้านเมืองไปไม่รอด”
       
        จึงเกิดคำถามว่า มีอำมาตย์คนไหนชี้นำการเมือง ชี้อย่างไร ชี้เมื่อไร และชี้อย่างไร แต่คำถามสำคัญว่า พล.อ.เปรม เป็นข้าราชการหรือไม่ ก็ไม่ใช่เพราะท่านเป็นประธานองคมนตรี ถวายงานด้วยเป็นที่ปรึกษาข้อราชการถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขแห่งชาติ
       
        มีข้อน่าสังเกตว่า พ.อ.อภิวันท์ เปรียบเทียบยุคสมัยฮ่องเต้จีน เช่น ในสมัยพระเจ้าฮั่นโกโจฮ่องเต้ เชื่อฟังขันทีที่กดขี่ประชาชนจึงล่มสลาย ทั้งๆ ที่ต้นรัชกาลประชาชนรักพระองค์มาก แต่พอปลายรัชกาลไปเชื่อฟังขันที ประชาชนเลยล้มฮั่นโกโจฮ่องเต้ และในยุคพระเจ้าเฮี้ยนเต้ โจโฉเป็นขุนนางแต่ทำตนเสมอเจ้า ตั้งขุนนางมากมายแทนพระเจ้าเฮี้ยนเต้ ไม่เกรงพระทัยพระเจ้าเฮี้ยนเต้ จึงเกิดเป็นเรื่องสามก๊ก
       
        เรื่องทั้งสองจึงเป็นเรื่องของพระเจ้าแผ่นดินจีนกับขันที ซึ่งไม่มีในระบอบราชวงศ์ของไทยเลยแม้แต่ในประวัติศาสตร์ไทย จึงเป็นเรื่องไร้สาระที่จะเปรียบเทียบให้สาธารณชนมองเห็นว่าเป็นประวัติศาสตร์เดียวกัน
       
        ข้าราชการไทยในปัจจุบันก็เกิดจากข้าราชการการเมือง เพราะข้าราชการได้รับการคัดเลือก และแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรียกเว้นข้าราชการทหารซึ่งมีระเบียบประเพณีที่แตกต่างออกไป และเกิดจากความสามารถของทหารเอง เพราะผู้นำทหารต้องได้รับการยอมรับตั้งแต่เป็นผู้บังคับหมวดมาแล้ว หากมีประวัติว่าด้อยความสามารถมาตั้งแต่ครั้งเป็นผู้บังคับหมวด ผู้บังคับกองร้อยแล้วยากที่จะไต่เต้าขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการกองพลหรือระดับแม่ทัพ ยกเว้นการเมืองเข้าแทรก และพระมหากษัตริย์ยังทรงพระราชอำนาจแต่งตั้งผู้บัญชาการเหล่าทัพและนายทหาร โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระราชโองการ
       
        ดังนั้นการเสนอชื่อนายทหารเข้ารับตำแหน่งสำคัญในกองทัพนั้น ถูกกลั่นกรองโดยธรรมชาติของ “ภาวะผู้นำ” ลักษณะทหารอยู่แล้วเพราะทหารย่อมรู้ว่า ใครดี ใครไม่ดีอย่างไรมาตั้งแต่ต้น จะมาย้อมแมวให้เป็นราชสีห์คงจะยากมาก และไม่มีใครที่จะย้อมแมวให้เป็นราชสีห์ได้ นอกจากทหารในกองทัพเอง
ที่มา : http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000105252
 
โพสท์ใน การเมืองการปกครองไทย | ใส่ความเห็น

รำลึก 19 ก.ย./รัฐประหารดีกว่าเผด็จการนักเลือกตั้ง

จั่วหัวอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นฝ่ายสนับสนุนให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร และนี่ไม่ใช่กระทู้ดักควาย (ศัพท์ไซเบอร์) หลอกให้เข้ามาอ่านนะครับ
       
        ระยะจากนี้เป็นต้นไปคงจะมีเวทีวิชาการแท้ วิชาการเทียม วิชาการหลอกด่า วิชาการปลุกม็อบขึ้นมาในวาระครบรอบ 3 ปีการรัฐประหาร พร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวไปตามแกนของเสื้อแดงหัวขวด เพราะนับจากวันยื่นถวายฎีกายุทธศาสตร์ของครอบครัวชินวัตรเปลี่ยนไปจากเดิมลดโทนฮาร์ดคอร์รอเวลาไปจนกว่าจะรู้ผลจริง ๆ ว่ากระบวนการฎีกาจะสิ้นสุดที่ชั้นใด
       
       ข่าวที่เกี่ยวข้องเพื่อบ่งชี้ทิศทางของครอบครัวชินวัตรชิ้นนี้ “ประชา บูรพาวิถี”ค่ายเนชั่นเคยนำเสนอไปบ้างแล้วว่า สาเหตุที่หนังสือแนวร่วม RED หายไปจากแผงหนึ่งสัปดาห์เพราะเจ๊แดงควักกระเป๋าเหมา เนื่องจากปัญหาข้อเขียนของจักรภพ เพ็ญแขที่ใช้ศัพท์แรงมากถึง “มหาอำมาตย์” บ่งชี้ว่าเป้าหมายของเขาใหญ่กว่าอำมาตย์ แต่ที่สุดข้อเขียนดังกล่าวก็หลุดมาสู่สาธารณะจนได้เพราะวงในพรรคเพื่อไทยเตะสกัดกลุ่มหัวขวด
       
       ถ้าครอบครัวชินวัตรไม่เอาด้วยกับแนวทางชุมนุมใหญ่ยืดเยื้อ สามหัวขวดก็ได้แค่เคลื่อนไหวตอดโน่นนี่ไปตามประสา.. แกนนำที่เคลื่อนไหวโดยอิสระต่างจากพวกม้าใช้ ก็ตรงนี้ ( ม้ากับสุนัขต่างก็มีสี่ขาเหมือนกันต้องสังเกตดี ๆ )
       
        ฝรั่งบอกว่าการเมืองก็คือสงครามที่ไม่หลั่งเลือด…ห้วงเวลานี้เป็นระยะการฟื้นฟูไพร่พลเสบียงกรังเสริมสร้างขวัญกำลังใจ เช่นบอกว่าหน้าใสกิ๊กแก้ข่าวว่าตัวเองไอ้นั่นกำลังเน่า รวมไปถึงการเคลื่อนไหวผ่านแอร์วอร์ถี่ ๆ รักษากระแสไว้ และที่สำคัญคือการบ่อนเซาะทำลาย
       
       วันที่ 19 ก.ย. เสื้อแดงต้องขึ้นชกเพราะเป็นไฟต์บังคับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าวันที่ 19 ก.ย.ไม่มีความหมาย เพราะวันดังกล่าวเป็นหมุดหมายของการสร้างภาพและกระแสโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม
       
        วาทกรรมอำมาตย์ที่พวกเขาชูอยู่เพื่อจะบอกว่าฝ่ายตรงกันข้ามไม่ใช่ประชาธิปไตย ในทางกลับกันเพื่อจะตอกย้ำว่าฝ่ายตัวเองคือเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายประชาธิปไตยเต็มขั้น
       
        ต้องแยกแยะให้ดีว่าเวทีวิชาการที่กำลังจะผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในช่วงนี้ เป็นเวทีวิชาการแท้ วิชาการเทียม หรือวิชาการซ่อนวาระแฝง
       
        และคงมีหลายเวทีที่บอกว่ารัฐประหารเป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย..ถูกของท่านครับ แต่ต้องบอกว่าหากประเทศไทยมีการปกครองแบบปี 2546-49 มันก็อันตรายมากเช่นกัน
       
        ผมไม่กลัวรัฐประหาร แต่ที่กลัวคือเผด็จการนักเลือกตั้งมากกว่า !
       
        แท้จริงแล้วการรัฐประหารที่ใช้กำลังทหารมายึดอำนาจอธิปไตยมาปกครองกำลังจะเป็นอาวุธที่ไร้ประสิทธิภาพลงเรื่อย ๆ เหมือนกับปืนใหญ่แบบที่หน้กระทรวงกลาโหมนั่นแหละ ในยุคหนึ่งมีพลานุภาพมากแต่เมื่อเวลาผ่านไปมันก็ด้อยพลังลงเรื่อย ๆ มีอาวุธใหม่ ๆ มาแทนที่
       
        ยอมรับตามตรงผ่านหน้ากระดาษและยอมโดนด่าว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แม้ส่วนตัวจะเชื่อแนวทาง People Uprising รู้ทั้งรู้รัฐประหารไม่ดีแต่ผมก็ยังรู้สึกโล่งอก.. จำได้ว่าผมบอกกับอาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ขึ้นเวทีเสื้อแดงบ่อยครั้ง (ย้ำเพื่อกันความเข้าใจผิดว่ายังเคารพนับถือและยกมือไหว้สม่ำเสมอยอมรับในความต่างได้จนกระทั่งบัดนี้) บอกอาจารย์ว่าผมรู้สึกปลอดภัยมากกว่าช่วงที่เป็นอยู่ก่อนหน้า
       
        รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นประชาธิปไตยแต่ในนามเพราะพวกเขาใช้อำนาจนอกกฎหมายเต็มรูปมาจัดการกับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ในช่วงปี 2548-2549 .. ยิ่งกว่าเผด็จการ ละเมิดสิทธิพื้นฐานทุกอย่าง และใช้กำลังประทุษร้ายอย่างน่าละอาย ซึ่งโดยส่วนตัวผมเห็นว่าตอนทหารเข้ามามีอำนาจช่วงปีกว่า ๆ พวกเขาใช้อำนาจดิบน้อยกว่ายุคทักษิณอย่างเทียบกันไม่ติด
       
        ในตอนนั้นมีทางเลือกแค่สองเท่านั้น .. สำหรับผมทางหนึ่งถูกกระทืบหรืออาจโดนมากกว่ากระทืบ อีกทางหนึ่งปลอดภัย
       
        จึงได้บอกแบบไม่กลัวโดนด่ายังไงว่า รัฐประหารแบบไทย ๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่สังคมโลกจับจ้องยังดีกว่าเผด็จการนักเลือกตั้ง ที่ใช้อำนาจดิบภายใต้หน้ากากประชาธิปไตยที่ผมเคยประสบมา
       
        ตอนที่ยังเป็นเวทีเมืองไทยรายสัปดาห์ (ก.ย.48-ม.ค.19) มันก็ขนป่าไม้ ติดอาวุธเข้ากรุงฯ มาทำร้ายคน ใช้อำนาจบงการเกณฑ์ชาวบ้านในพื้นที่ของตำรวจ อำนวยความสะดวกทุกอย่าง
       
        คุณสุนทรี เวชานนท์ แค่ขึ้นเวทีร้องเพลงกลับมาเชียงใหม่ถูกโยนระเบิดเข้าร้าน ประชาธิปัตย์ดี ๆ ชั่ว ๆ ก็ไม่ได้เลวร้ายเหมือนรัฐบาลทักษิณ ถ้าเขาเลือกที่จะใช้กลไกรัฐไปทำร้ายคนเสื้อแดง ก็คงมีคนเลือดหัวตกกันบ้างแล้ว แต่นี่ไม่มี
       
        ระยะหลังประมาณเดือนกรกฎา-สิงหาคม 2549 เริ่มมีการใช้กลไกรัฐผสมกับอันธพาลเต็มรูป พันธมิตรฯไปยกป้ายขับไล่ทักษิณก็ถูกคุกคามทำร้ายทั้งที่ตาก กำแพงเพชร และที่พิษณุโลก
       
        ตัวผมนั้นโชคดีที่ทำงานด้านข่าวสารจึงพอมีพรรคพวกอยู่บ้าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวของหน่วยงานหนึ่งกระซิบบอกมาว่า พวกป่าไม้ส่งคนมาขอแฟ้มประวัติของผมแล้วนะ ให้ระวังตัวด้วย
       
       พวกป่าไม้ที่ว่า ก็คือ กรมอุทยานฯ ซึ่งตอนนั้นยกฐานะเป็นกองกำลังติดอาวุธของตัวเองมีฝ่ายการข่าวของตัวเอง ท้าทายถึงกับประกาศให้คนติดตามการเคลื่อนไหวของกองทัพภาคที่ 3 ภายใต้การนำของ พล.ท.สะพรั่ง กัลยาณมิตร (ยศขณะนั้น)
       
       นี่เป็นประชาธิปไตยแบบบ้าบอที่สุด มีมวลชนฝ่ายตรงกันข้ามรัฐบาลชุมนุมกัน แนวทางแก้ปัญหาของรัฐคือจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธเข้าไปจัดการ ส่งคนไปรังควาน ทำร้าย ไปเผาทรัพย์สินของแกนนำฝ่ายตรงกันข้าม แล้วก็ส่งคนติดอาวุธไปคุกคามรังควานคนของฝ่ายตรงกันข้าม
       
       นักวิชาการเสื้อแดงจำเรื่องพวกนี้ได้ไหม อยากให้ใช้ประชาธิปไตยบ้าบอของนักเลือกตั้งแบบที่เคยเกิดเมื่อปี 2549 มาใช้กับคนเสื้อแดงบ้างมั้ย ?
       
       รัฐประหารไม่ได้น่ากลัวอีกต่อไปแล้วจริง ๆ คนทำมีแต่เสียกับเสีย
       
       ที่น่ากลัวกว่าคือการเรียกร้องประชาธิปไตยแบบวิ่นแหว่งโดยการนำของนักเลือกตั้งที่ไม่ได้ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยจริง ประชาธิปไตยของพวกเขาเป็นประชาธิปไตยแบบนายทุนที่จงใจละเมิดสิทธิ-เสรีภาพของประชาชน
       
       ประชาธิปไตยแท้คือแบบสมัคร สุนทรเวช หรือ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใช่ไหม ?
       
       แบบที่คนเสื้อเหลืองเริ่มชุมนุมวันแรก 25 พฤษภาคม 51 ก็ส่งคนมาตีที่ท้ายขบวน, ชุมนุมไม่ถึงอาทิตย์ก็ลุแก่อำนาจสั่งตำรวจสลายให้ได้ดีที่ยังมีคนไปเตือนให้ถอยซะ หรือใช้กลไกรัฐตำรวจเต็มรูป มีที่ไหนเจ้าหน้าที่เต็มไปหมดแต่มีมือยิงระเบิดเข้ามาทำเนียบฆ่าคนรายวันได้
       
       ประชาธิปไตยที่แท้คือการปลุกมวลชนให้มาทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งแบบที่ตำรวจช่วยเหลือ แบบที่อุดรธานี หรือที่เชียงใหม่ ใช่ไหม ? ถ้าเป็นไปตามมาตรฐานนั้นเวลาเสื้อแดงชุมนุมให้เกณฑ์คนไปตีแล้วตำรวจวางเฉยเอาไหม ?
       
       ฯลฯ…. มีอีกมากเลยครับ สาธยายไม่หมดในวันเดียวหรอก
       
       ที่อยากจะพูดก็คือ สังคมไทยจะรำลึก 19 กันยายนกันแบบไหน ตราบใดที่ระบบการเมืองยังวิ่น ๆ แหว่ง ๆ ถูกทำให้เข้าใจว่าการเมืองแบบนักเลือกตั้ง ดีกว่า เผด็จการทหารโดยไม่ไปไกลกว่านั้น ตราบนั้นเราก็ยังคงวนเวียนอยู่กับวงจรอุบาทว์ทางการเมืองแบบเดิม
       
        ไปให้พ้นจากวงจรรัฐประหาร ยังไม่พอ
       
        ต้องไปให้พ้นจากวงจรอุบาทว์ของนักเลือกตั้งที่อาศัยประชาธิปไตยบังหน้าด้วย !
       
        หมดยุคไอ้เสือเอาวาไปนานแล้ว ที่เรากำลังเผชิญคือ โจรใส่สูทยิ้มหวานเข้ามาปล้นแบบเนียน ๆ ถึงในบ้าน
       
        ปล้น-ฆ่า-ข่มขืน แล้วยังหลอกให้คนสนับสนุนนี่แหละน่ากลัวยิ่งกว่าอะไรทั้งสิ้น !!!
ขอบคุณ

บัณรส บัวคลี่ 7 กันยายน 2552 12:32 น.

http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103288

โพสท์ใน ข่าวสารและการเมือง | ใส่ความเห็น